222

code java ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ของด.ช.กฤษฏิ์ วงค์วนิช ด.ช. กิตติพงศ์ พุ่มทอง เขียนโดย ที่ 18:53 0 ความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของเกมส์

  การเล่นเกมนั้นให้ประโยชน์แก่ผู้เล่นหลายด้านด้วยกัน เช่น
               ก. ทางด้านร่างกาย
1. สร้างเสริมทักษะการเคลื่อนไหวที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
2. เป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น เพื่อการฝึกกิจกรรมต่าง ๆ 
3. ได้ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และมีการส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย
4. มีผลต่อการพัฒนาระบบอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ได้พัฒนาสมองในการที่จะควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว
และตอบสนองในสภาพการณ์ต่าง ๆ
6. พัฒนาความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
7. พัฒนากลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เกิดทักษะ และเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ส่งเสริมทักษะพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อเป็นการนำไปใช้ในการฝึกกิจกรรม หรือการเล่น
กีฬาต่าง ๆ
               ข. ทางด้านจิตใจ
1. ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเคลียด
2. เกิดทัศนคติที่ดีในการเล่น หรือสามารถหากิจกรรมที่เหมาะสมให้กับตนเองและผู้อื่น
3. ส่งเสริมและสร้างเสริมคุณธรรม คติธรรม และความมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
4. ช่วยให้มีอารมณ์ร่าเริง สดชื่น แจ่มใส
5. มีจิตใจเป็นักประชาธิปไตย ยอมรับในความสามารถ และความคิดเห็นของผู้อื่นในขณะ
เดียวกันก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่น
                ค. ทางด้านสังคม
1. เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเข้ากับหมู่คณะได้
2. ฝึกการเป็นผู้นำตามที่ดี และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
3. ยอมรับสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. มีความกล้าแสดงออกอย่างเปิดเผย
5. เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้อย่างสง่าผ่าเผย และสามารถปรับตัวเข้ากลุ่มสังคมได้อย่างมีความสุข 
                ง. ทางด้านอารมณ์
1. อารมณ์ที่แจ่มใส ร่าเริง
2. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
3. รู้จักการเสียสละ ให้อภัย และไม่ถือโกรธ (ชูชีพ เยาวพัฒน์ 2540 : 43-44)

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

พัฒนาเกมส์

พัฒนาเกมส์ในแบบเสรี

 

จะเริ่มต้นศึกษาด้านการพัฒนาเกมส์ ต้องทำอย่างไร

บันทึกนี้ ผมจะค่อยๆถอดเปลือกการพัฒนาเกมส์ออกมาครับ เริ่มจากง่ายไปยากนะครับ
หลังจากพูดจาปราศรัยมาได้สัก 3 บันทึก ก็ไม่เสียเวลานะครับ เริ่มเรียนกันเลย
การพัฒนาเกมส์ จะมีองค์ประกอบ 3 อย่างก็คือ
1. สื่อมัลติมีเดีย คือภาพและเสียง ที่จะใช้ถ่ายทอดเกม
2. กฎกติกา เนื้อหาของเกม
3. เกมส์เอ็นจิ้น
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ท่านคงจะทราบแล้ว ว่าสื่อมัลติมีเดียได้แก่ภาพและเสียงที่เป็นตัวละคร ฉาก เสียงเพลง ซึ่งการสร้างจะใช้โปรแกรมทั่วๆไป เช่นโปรแกรมตัดต่อภาพ โปรแกรมแต่งเพลง กฎกติกาก็คงจะทราบ โดยอาจจะนับเป็นคำอนิยามของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ผมจะขอเริ่มต้นที่เกมส์เอ็นจิ้นเลยแล้วกันครับ
เกมส์เอ็นจิ้น กล่าวตามภาษาบ้านๆ ก็คือโปรแกรมสร้างเกมส์นั่นแหละครับ มีทั้งง่ายแบบคลิกไม่กี่ทีก็เป็นเกม หรือยากแบบที่ต้องเป็นเซียนคณิตศาสตร์การเขียนโปรแกรม กำหนดสีทีละจุดเลยก็มี ผมจะเริ่มให้เรียนรู้ในระดับปานกลาง ซึ่งเหมาะสำหรับทุกท่านที่มีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์มาบ้างแล้วนะครับ
วันนี้ก็มารู้จักกับโปรแกรม RPG Maker ครับ RPG Makerเป็นโปรแกรมขนาดค่อนข้างเล็ก ใช้สร้างเกมได้หลากหลายรูปแบบ เป็นเกมสองมิติครับ เหมาะมากในการทำเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือจะเอาไปทำเป็นเกมเล่าเรื่องราวให้เด็กเล่นก็ได้ครับ
ในประเทศไทยเรามีชุมชนคนทำเกมส์ที่ใช้โปรแกรมตัวนี้มากมายครับ เช่นก่อนอื่นก็แนะนำให้ Download โปรแกรมมาก่อนนะครับ ที่  ซึ่งก็ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง สำหรับอินเทอร์เน็ต ADSL ในที่นี้แนะนำให้โหลด RPG Maker 2003 + RTPนะครับ
เมื่อโหลดมาแล้ว ก็ให้ Installเหมือนกับการลงโปรแกรมปกติ คือให้ลงตัวโปรแกรมก่อน แล้วก็ลง RTP ตามไป เจ้า RTPจะเป็นฐานข้อมูลให้เราได้ใช้ตัวละคร ฉาก แบบสำเร็จรูปนะครับ ใครที่คิดว่าจะสร้างเองทั้งหมด ลงไว้ก่อนดีกว่าครับ เพราะเจ้าโปรแกรมหลัก จะขาด RTP ไม่ได้
ติดตั้งไปหมดแล้ว ใครที่อยากใช้เวอร์ชันภาษาไทย ก็มีให้โหลดเช่นกันครับ
โหลดและติดตั้งทั้งหมดแล้ว ก็จะพบว่าโปรแกรมมีหน้าตาช่วนปวดหัว แต่อย่าเพิ่งตกใจไปครับ
จะมองเห็นน้ำอยู่เต็มไปหมด ให้เอาเมาส์ไปคลิกที่ตรงที่เป็นพื้นหญ้าสีเขียวๆ แล้วเอามาวาดลงบนน้ำ จะกลายเป็นเกาะขึ้นมาครับ แล้วก็คลิกไปที่ กล่องเครื่องมือ แล้วเลือกเครื่องมือชื่อ Eventหลังจากนั้นก็มองหาทำเลดีที่จะให้ตัวเอกเกิดขึ้นมาในเกมส์ คลิกขวาแล้วเลือก Set Hero Start Positionข้อความอาจจะไม่ตรงครับ แต่คงเดาไม่ยาก เสร็จแล้วก็จะได้เกมย่อๆที่จะมีตัวละครเดินไปเดินมา เซฟมันไว้ แล้วก็มองหาปุ่ม Test Game บนกล่องเมนูข้างบนครับ เปิดเข้าเกมก็เลือกStart Game จะเจอตัวเอกหน้าตาหล่อเหลาเดินไปเดินมาได้แล้ว คราวหน้าจะมาบอกเล่าเรื่องราวต่อครับ ว่าจะทำยังไงให้มีคนมาคุยกับตัวเอกได้บ้าง

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติผู้จัดทำ


ชื่อ  ด.ช. กฤษฎิ์  วงค์วนิช

ชื่อเล่น น้องสาม อิ อิ

เลขที่  1

อายุ  14

เกิด  13  มีนาคม  2541

โรงเรียน  ชะอวด

จังหวัด  นครศรีธรรมราช

ชื่อ  ด.ช. กิตติพงศ์  พุ่มทอง

ชื่อเล่น  น้องปอ อิ อิ

เลขที่  2

อายุ  15

เกิด 12 กุมภาพันธ์ 2540

โรงเรียน ชะอวด

จังงหวัด นครศรีธรรมราช